วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2551

14. วิธีดูเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยการพิมพ์ที่อยู่ในรูปแบบ URL

การเข้าไปดูเว็บไซต์ใด ๆ นั้น ก่อนอื่นคุณจะต้องทราบ ที่อยู่ ในรูปแบบ URL ของเว็บไซต์หรือเว็บเพจที่คุณต้องการเข้าไปดูเสียก่อน จากนั้นก็ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
· คลิกที่ช่อง Location ถ้าช่องนี้มีที่อยู่เว็บไซต์แสดงอยู่ก่อน เมื่อคลิกก็จะมีแถบสีดำทับที่อยู่ปัจจุบันทันที และเมื่อพิมพ์ที่อยู่ใหม่ลงไป ที่อยู่ปัจจุบันจะหายไปทันที ตัวอย่างที่อยู่เว็บไซต์ปัจจุบันคือ www.discovery.com ซึ่งเป็นที่อยู่เว็บไซต์ของสารคดีโทรทัศน์ Discovery Channal
· ให้พิมพ์ที่อยู่เว็บไซต์ที่ต้องการเข้าไปดู แล้วกดคีย์ Enter ตัวอย่างนี้พิมพ์ www.cnn.com ซึ่งเป็นที่อยู่เว็บไซต์ของสำนักข่าง Cnn ที่อยู่เว็บไซต์เต็มยสในรูปแบบ URL คือ http://www.company.com แต่คุณสามารถละอักษร http:// ให้อย่างอัตโนมัติ ให้อ่านรายละเอียดคุณสมบัตินี้ในหัวข้อถัดไป คุณสมบัติ URL AutoCompylete จากนั้น Netscape Navigator จะวิ่งไปดึงข้อมูลที่เว็บไซต์ของ CNN แล้วค่อย ๆ นำมาแสดงผล

ให้สังเกตที่ช่อง Location เมื่อพิมพ์ที่อยู่เว็บไซต์หรือเข้าไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ ชื่อของช่องนี้จะเปลี่ยนไป ถ้าเป็น Net Site นั้นก็หมายความว่าเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้นใช้ซอฟต์แวร์ของ Netscape อยู่ แต่ถ้าเป็นคำว่า Location แสดงว่าเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้น ใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่ใช้ของ Netscape ส่งน Go to จะแสดงขึ้นมาก็ต่อเมื่อ คุณกำลังพิมพ์ที่อยู่เว็บไซต์ก่อนที่จะเข้าไป
ดังที่กล่าวแล้วว่าช่อง Location ที่ใช้พิมพ์ที่อยู่เว็บไซต์นั้น มีคุณสมบัติเป็นลิสต์บ็อกซ์ด้วย โดยมันจะเก็บที่อยู่เก่า ๆ ที่เคยเข้าไปเอาไว้ เพื่อให้คุณสามารถเลือกที่อยู่แทนที่จะต้องพิมพ์ใหม่อีกครั้ง คุณสมบัตินี้ผู้ใช้หลายคนอาจจะติดใจตรงที่ว่า อยากจะลบที่อยู่เหล่านี้ออกไป ทำอย่างไร เพราะไม่อยากให้ใครทราบว่าไปที่ใดมาบ้าง ไม่มีปัญหาครับ วิธีการลบก็เพียงแต่เปิดไฟล์ Perfs.js ด้วยโปรแกรมเท็กซ์อิดิเตอร์ ซึ่งอาจจะเป็นโปรแกรม Notepad ใน Windows 95 ก็ได้ สำหรับไฟล์ Prefs.js นั้นเก็บอยู่ที่ไดเรกทอรี
นอกจากการพิมพ์ที่อยู่ในช่อง Address แล้ว คุณสามารถเปิดไปยังเว็บไซต์อื่นได้โดยการคลิกเมนู File แล้วเลือกคำสั่ง Open เพื่อปิดไดอะเอกบ็อก์ Open จากนั้นก็พิมพ์ที่อยู่เว็บไซต์ที่ต้องการลงไปแล้วกดคีย์ Enter สำหรับคีย์ลัดในการเปิดไดอะล็อกบ็อกซ์ Open คือ Ctrl O และ Ctrl L คุณสมบัติพิเศษของวิธีนี้ก็คือที่อยู่ที่พิมพ์ไปนั้นจะไม่ปรากฎในลิสต์บ็อกซ์ของช่อง Location

14. คุณสมบัติของ URL AutoComplete
ARL Autocomplete เป็นคุณสมบัติที่ช่วยให้ผู้ใช้พิมพ์ที่อยู่เว็บเพจได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น คุณสมบัตินี้เรียกสั้น ๆ ว่า เติมเต็มอัตโนมัติ หลักการของคุณสมบัตินี้คือ การตรวจสอบที่อยู่เดิมที่เคยไปมาแล้วเมื่อมีการพิมพ์อักษรที่เดิมบางส่วน โปรแกรมจะคาดเดาว่าผู้ใช้ต้องการไปที่เว็บไซต์ใด จึงเติมที่อยู่ส่วนที่เหลือให้เต็มสมบูรณ์อย่างอัตโนมัติทันที แต่ถ้าที่อยู่ที่โปรแกรมเติมเต็มให้นั้น ไม่ใช่ที่อยู่ที่คุณต้องการไป คุณก็เพียงแต่พิมพ์อักษรตัวถัดไปเรื่อย ๆ จนครบตราปกติเท่านั้น ตัวอย่างขั้นตอนต่อไปนี้
· สมมติว่าคุณต้องการเข้าไปยังเว็บไซต์สายการบินไทย (www.Thaiair.com) ก็ให้คลิกที่ช่อง Location แล้วพิมพ์ที่อยู่เว็บไซต์ลงไป แต่เมื่อคุณพิมพ์ที่อยู่ถึงอักษร www.t โปรแกรมจะแสดงที่อยู่ของ www.techweb.com ขึ้นมา เนื่องจากผมก็เคยเข้าไปที่เว็บไซต์นี้มาก่อนและ ลำดับอักษรของ techweb.com มาก่อนที่อยู่ Thaiair.com โปรแกรมจึงแสดงเว็บไซต์นี้ขึ้นมาก่อน
· แต่เนื่องจากที่อยู่นี้ไม่ใช่ที่ต้องการ ก็ให้พิมพ์อักษรถัดไปเป็น www.th พอถึงจุดนี้โปรแกรมก็จะเติมอย่างอัตโนมัติ เป็น www.thaiair.com ทันที ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ต้องการ จากนั้นก็ให้กดคีย์ Enter
· โปรแกรมจะปรับที่อยู่ให้เต็บรูปแบบอย่างอัตโนมัติเป็น http://www.thaiair.com แล้วเข้าไปยังเว็บไซต์ thaiair.com ทันที

15. หลักการดูดเนื้อหาสาระในเว็บเพจ

การดูดข้อมูลในเว็บเพจจะคล้ายกับการเปิดหน้าหนังสืออ่าน ตรงที่หน้าเว็บเพจจะมีข้อความ รูปภาพ และมีการจัดหน้าไม่แตกต่างกับหนังสือมากนัก แต่จุดที่แตกต่างก็คือ เว็บเพจมีคุณสมบัติในการเชื่อมโยงสิ่งที่สัมพันธ์กันในเนื้อหาเว็บเพจเข้าด้วยกันและยังทำหน้าที่ชี้ไปยังเว็บเพจอื่น ๆ ในอินเตอร์เน็ตได้ด้วย ซึ่งจะดนี้ทำให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้เว็บเพจยังรวมเอาความสามารถด้านมัลติมีเดียผนวกเข้ากับหน้าเว็บเพจได้อย่างกลมกลืนอีกด้วย ซึ่งทำให้การนำเสนอของเว็บเพจมีสีสัน และมีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น
สำหรับขั้นตอนต่อไปเป็นตัวอย่างในการดูเว็บเพจเบื้องต้นซึ่งคุณควรจะศึกษาเป็นพื้นฐานเสียก่อน
· คุณสมบัติที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของเว็บเพจก็คือในแต่ละหน้านั้นยางไม่จำกัด แต่ทางปฏิบัติแล้วผู้พัฒนาเว็บเพจจะไม่สร้างเว็บเพจยาวมาก เพราะจะทำให้ดูลำบากและจะต้องคอยให้ดึงข้อมูลเสร็จทั้งหน้า ซึ่งอาจจะกินเวลานาน ดังนั้นผู้พัฒนาเว็บเพจจึงมักจะแบ่งหน้าออกเป็นส่วน ๆ แล้วค่อยเชื่อมโยงกันด้วยลิงค์ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีเว็บเพจของหลายเว็บไซต์ที่มีหน้าบางหน้าประมาณสองสามหน้าจอ ซึ่งแน่นอนหน้าจอของคุณจะแสดงได้ในคราเดียวไม่หมดแน่ ดังนั้นการดูส่วนที่เหลือของเว็บเพจจะต้องคลิกเมาส์ค้างไว้แล้วเลื่อนแท่งสโครลล์บาลงมา
· พื้นที่เว็บเพจส่วนใญ่จะประกอบไปด้วยข้อความ และภาพนิ่ง ซึ่งจะมีการจัดหน้าคล้ายกับสิ่งพิมพ์ประเภทนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ ในส่วนที่เป็นข้อความนั้นบางคำจะเป็นลิงค์ชี้ไปยังเว็บเพจหน้าอื่น นอกจากนี้ภาพนิ่งยังสามารถเป็นลิงค์ชี้ไปยังส่วนต่าง ๆ เช่นเดียวกับข้อความอีกด้วย
· สำหรับเว็บเพจที่มีจำนวนมาก ๆ ผู้พัฒนาเว็บเพจมักจะจัดกลุ่มแบ่งหมาดหมู่เว็บเพจ โดยอาจจะแสดงลิสต์ป็อกซ์ในลักษณ์เดียวที่ใช้ในโปรแกรมขึ้นมาให้ผู้ใช้เลือกเพื่อเข้าไปยัง เว็บต่าง ๆ ได้ ตัวอย่างเว็บเพจของ thaiair.com น้นมีสิสต์บอกซ์ให้เลือกต้นทางและปลายทางของการเดินทางเพื่ออาจจะได้แสดงตารางเวลาเที่ยวบิน เป็นต้น
· สำหรับเว็บเพจที่มีจำนวนหน้ามาก ๆ และมีการอัพเดทข่าวสารทุกวัน เช่น เว็บเพจข่างสารนั้น ผู้พัฒนามักจะออกแบบเว็บเพจให้คอลัมน์ทางด้านซ้ายมีหัวข้อหลักซึ่งคล้ายกับเป็นสารบัญ เพื่อให้ผู้ใช้เลือกสองบรรทัด
· นอกจากนี้ เว็บเพจขนาดใหญ่ที่มีการทำฐานข้อมูลไว้ด้วย มักจะมีช่องว่างเอาไว้ให้ผู้ใช้ได้พิมพ์คีย์เวิร์ดสืบค้นข้อมูลตามที่ต้องการ เช่น เว็บไซต์ Nesw.com นั้นมีฐานข้อมูลข่าวให้สืบค้น
· โดยทั่วไปแล้วเกือบทุกหน้าเว็บเพจมักจะมีข้อความที่เป็นลิงค์ขึ้นไปยังส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะข้อความที่เป็นหัวข้อเช่นหัวข้อข่าว สำหรับข้อความที่เป็นลิงค์นั้นจะมีสีสันแตกต่างกับข้อความธรรมดา และจะมีเส้นใต้ขีดอยู่ด้วย และลิงค์จะถูกแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ หนึ่ง Folowed Link ลิงค์นี้หมายถึงผู้ใช้ได้คลิกเข้าไปดูเนื้อหาสาระแล้ว อีกส่วนคือ Unfolower link ลิงค์นี้หมายถึง ลิงค์ที่ผู้ใช้ยังไม่ได้เข้าไปดู วิธีดูว่าเป็นลิงค์ประเภทใดนั้น ให้ดูที่สีสันซึ่งจะแตกต่างกัน คุณสามารถกำหนดเองได้ ข้อดีของแการแบ่งลิงค์ออกเป็น 2 ประเภทก็คือ คุณสามารถรู้ได้ว่าคุณเคยเข้าไปดูเว็บเพจที่ลิงค์ชี้ไปหรือยัง

ไม่มีความคิดเห็น:

internet 2

21. วิธีซ่อนและแสดงทูลบาร์
ทูลบาร์ใน Netscape Navigator 4.0 ได้ถูกออกแบบใหม่เพื่อให้ง่ายต่อการปรับแต่ง ต้องการใช้งานได้ง่ายและสะดวกที่สุด สำหรับโครงสร้างใหม่ของทูลบาร์นั้น ผู้ใช้สามารถที่จะซ่อนทูลบาร์ โดยการคลิกที่แท็บทูลบาร์เพียงครั้งเดียวสำหรับวิธีการเรียกกลับ ก็ทำวิธีเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งนับว่าง่ายกว่าการปรับใน Netscape Navigator เวอร์ชั่นเดิม สำหรับขั้นตอนต่อไปนี้เป็ฯการซ่อนทูลบาร์ทั้งสามพร้อมแสดงทูลบาร์กลับคืนมา
1. คลิกแท็บ Personal Toolbar เพื่อซ่อนทูลบาร์นี้ ทูลบาร์จะหายไปโดยจะเป็นแท็บแทน
2. คลิกแท็บ Location Toolbar เพื่อซ่อนทูลบาร์นี้ จากนั้นให้ลอกคลิกทูลบาร์ที่เหลือดู
3. คลิกแท็บ Location Toolbar เพื่อแสดงทูลบาร์กลับคืนดังเดิม

22. วิธีเปลี่ยนตำแหน่งทูลบาร์
นอกจากการซ่อนทูลบาร์แล้ว คุณยังสามารถสลับตำแหน่งของทูลบาร์ทั้งสามได้ตามความพอใจ สำหรับวิธีปรับก็ใช้วิธีลากแล้ววาง ซึ่งนับว่าเป็นวิธีที่ง่ายสะดวกและดูเป็นธรรมชาติ
1. คลิกแท็บทูลบาร์ค้างไว้ จากนั้นก็เลื่อนไปยังตำแหน่งใหม่
2. เมื่อได้ตำแหน่งใหม่ที่ต้องการ ก็ให้ปล่อยปุ่มเมาส์ แล้วทูลบาร์ก็จะวางบนตำแหน่งใหม่ทันที

23. วิธีปรับขนาด Netscape Toolbar
Netxcape Toolbar จะมีขนาดใหญ่กว่าทูลบาร์ตัวอื่น เนื่องจากมันประกอบไปด้วยภาพและปุ่มคำสั่ง และคำอธิบาย ถ้าคุณคิดว่า ขนาดของทูลบาร์ตัวนี้ใหญ่ไป ซึ่งจะกินเนื้อที่การแสดงผล คุณก็สามารถลดขนาดลงโดยปรับให้แสดงภาพ หรือข้อความเพียงอย่างเดียวก็ได้
1. คลิกเมนู Edit
2. คลิกคำสั่ง Preference
3. คลิก Appearance
4. คลิกเลือกออฟชั่นหน้าตาของ Nevigator Toolbar ตัวอย่างนี้เลือกให้แสดงแต่ภาพปุ่มคำสั่งอย่างเดียว
5. คลิกปุ่ม Ok สิ้นสุดคำสั่ง Navigator Toolbar จะเปลี่ยนตามที่กำหนดทันที

24. วิธีกำหนดโฮมเพจเริ่มต้นเมื่อเปิด Navigator
โฮมเพจในที่นี้ หมายถึง เว็บเพจแรกที่จะเข้าไปดูเมื่อเปิด Netscape Nevigator ขึ้นมา สำหรับโฮมเพจแรกที่ Netscape กำหนดมาให้ก็คือเว็บไซต์ http://www.netscape.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของ Netscape เอง นั้นก็หมายความว่าเมื่อคุณเปิด Navigator ขึ้นมา มันก็จะวิ่งไปยังเว็บไซต์นี้เสมอ
ถ้าคุณมีเว็บไซต์ที่คุณชื่นชอบแล้ว และต้องเข้าไปดูทุกครั้งเมื่อใช้อินเตอร์เน็ต คุณก็สามารถกำหนดโฮมเพจให้ชี้ไปยังเว็บไซต์นี้ได้ สำหรับตัวผมเองก็มักจะกำหนดโฮมเพจเป็น www.techweb.com เพราะผมมักจะติดตามข่างสารข้อมูลด้าน IT ที่เว็บนี้ทุกครั้งที่เข้าอินเตอร์เน็ต ก่อนอื่นให้เข้าไปยังเว็บไซต์ที่คุณจะกำหนดเป็นโฮมเพจเสียก่อน
1. คลิกเมนู Edit
2. คลิกคำสั่ง Perference
3. คลิกออปชั่น Home page
4. คลิกปุ่ม Use Current Page เพื่อเก็บที่อยู่เว็บไซต์ที่แสดงอยู่ เข้าเป็นโอมเพจ ถ้าคุณไม่ คลิกปุ่มนี้ ก็สามารถพิมพ์ที่อยู่เข้าไปที่ช่อง Location ได้
5. คลิกปุ่ม OK เสร็จสิ้นการกำหนดโฮมเพจ

25. วิธีเซฟภาพในเว็บเพจเก็บไว้
ปัจจุบันเว็บไซต์หรือเว็บเพจแต่ละแห่ง ต่างก็มีการพัฒนาการออกแบบหน้าเว็บเพจของตนเองให้ดูสวยงาม เร็ว และมีประสิทธิภาพ ซึ่งบางครั้งคุณอาจจะชอบรูปภาพของเว็บเพจเหล่านั้น แล้วอยากจะเก็บภาพเหล่านั้นเอาไว้ก็ไม่มีปัญหาอะไร เนื่องจาก Netscape Nevigator มีคำสั่งเซฟรูปภาพเพื่อเก็บเอาไว้ที่เครื่องของผุ้ใช้เอง ก่อนอื่นให้เข้าไปยังเว็บเพจที่มีภาพที่คุณสนใจก่อน
1. คลิกเมาส์ปุ่มขวาภาพที่ต้องการเซฟ
2. คลิกคำสั่ง Save Image As
3. คลิกโฟลเดอร์ที่จะเก็บภาพในเครื่องของคุณ
4. คลิกปุ่ม Save สิ้นสุดคำสั่งเซฟภาพในเว็บเพจ จะถูกเซฟไว้ในเครื่องของคุณทันที

26. วิธีเซฟเว็บเพจเก็บเป็นไฟล์เอาไว้
นอกจากการเก็บรูปภาพเอาไว้แล้ว ตัวเนื้อความในเว็บเพจก็สามารถเก็บเอาไว้เป็นไฟล์ได้ด้วย เพื่อประโยชน์ในการมาดูเว็บเพจซ้ำอีกครั้ง โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต แต่ข้อความอย่างหนึ่งของการเก็บเว็บเพจอย่างนี้ก็คือ ตัวรูปภาพจะไม่ถูกเก็บมาพร้อมกัน นั่นหมายความว่า คุณเปิดไฟล์เว็บเพจ มันก็จะไม่แสดงภาพขึ้นมา ถึงแม้ว่าคุณจะพยายามเซฟไฟล์เหล่านั้น โปรแกรมก็ไม่ได้เชื่อมไฟล์รูปภาพเข้ากับไฟล์เว็บเพจให้คุณอย่างอัตโนมัติ ก่อนอื่นให้เข้าไปยังเว็บเพจที่คุณต้องการเสียก่อน
1. คลิกเมนู file
2. คลิกคำสั่ง Save As คีย์ลัดขั้นตอน 1-2 คือ Ctrl S
3. คลิกเลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บไฟล์เว็บเพจ
4. พิมพ์ชื่อไฟล์ที่ต้องการ ถ้าไม่พิมพ์จะใช้ชื่อไฟล์เดิมในการเก็บ
5. คลิกปุ่ม Save สิ้นสุ้นคำสั้งโปรแกรมจะเซฟไฟลืเว็บเพจเก็บเป็นไฟล์ไว้ที่เครื่องของคุณทันที โดยจะเซฟในฟอร์แมต HTM

27. วิธีเปิดไล์เว็บเพจที่เก็บไฟล์เอาไว้
หลังจากที่คุณได้เซฟเว็บเพจเก็บเป็นไฟล์เอาไว้แล้ว เมื่อคุณต้องการดูเว็บเพจนี้อีกครั้งโดยไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตอยู่ในขณะนั้น ก็เพียงแต่เปิดไฟล์เว็บเพจนี้ขึ้นมาเหมือนกับการเปิดไฟล์ข้อมูลของโปรแกรมอื่น ก้อนอื่นคุณต้องเซฟไฟล์เว็บเพจเก็บเอาไว้ก่อน
1. คลิกเมนู File
2. คลิกคำสั่ง Open คีย์ลัดขั้นตอนที่ 1-2 คือ Ctrl O
3. คลิกปุ่ม Chose File
· ถ้าคุณรุ้ตำแหน่งที่เก็บไฟล์ก็สามารถพิมพ์ชื่อและพาธที่ช่อง Open Page ได้ทันที
· ไดอะล๊อกบ๊อกซ์ Open Page สามารถพิมพ์ที่อยู่เพื่อเข้าไปยังเว็บไซต์ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ เช่นเดียวกับการพิมพ์ในช่อง Location แต่ที่อยุ่เว็บไซต์ที่พิมพ์ในช่องนี้จะไม่ไปปรากฎในลิสต์บ็อกซ์ของ Location

28. การค้นหาข้อมูลจาก WWW (World Wide Web)

การค้นหาข้อมูลที่ง่ายที่สุดและเร็วที่สุดในอินเตอร์เน็ต วิธีที่ง่ายที่สุด คือ ใช้โปรแกรมสำหรับเรียกดูข้อมูลจากแหล่งที่รวบรวมและจัดหมวดหมู่ของข้อมูลไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งในการใช้งานแบบกราฟิก แหล่งข้อมูลประเภทนี้จะอยู่ในรูปแบบของ web site ที่ใช้บริการซึ่งเรียกดูได้ด้วยโปรแกรม browser ต่าง ๆ แหล่งข้อมูลเหล่านี้บางครั้งเราเรียกเป็น “ตัวค้นหาข้อมูล” ซึ่งในที่นี้จะแนะนำบางตัวที่นิยมใช้กัน

29. วิธีการค้นหาข้อมูล
การค้นหาแบบตรรกะทำได้โดยการใส่คำสั่งคำว่า AND , OR , NOT และใช้วงเล็ก () เพื่อกำหนดสิ่งที่ต้องการให้เฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้นได้ รวมทั้งใช่เครื่องหมาย + และ - เพื่อกำหนดว่าจะให้ค้นหารวมหรือไม่รวมอะไรบ้าง โปรดสังเกตุว่าสิ่งที่เราต้องการค้นหาจะใช้ตัวพิมพ์เล็กเป็นตัวสะกด ส่วนคำสั่ง AND , OR , NOT จะใช้ตัวพิมพ์ใหญ่สะกด เพื่อความชัดเจนในการค้นหา เช่น food AND (thai OR chinese) จะหมายถึงการค้นหาอาหารไทยและอาหารจีนเท่านั้น ถ้าสั่งให้ค้นหา disney+movie จะหมายถึงการค้นหาภาพยนต์ของดิสนีย์ ซึ่งเครื่องหมาย + จะอยู่ติดกับคำว่า movie โดยไม่ต้องเว้นวรรค หรือถ้าสั่งให้ค้นหา pets-dog จะหมายถึงการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงที่ไม่รวมสุนัข เป็นต้น

30. เว็บไซต์ที่เป็นตัวค้นหาข้อมูลที่นิยมใช้ “YAHOO”
เป็น web site ที่นิยมมากตัวหนึ่งแต่จะมีข้อจำกัดคือ Yahoo จะค้นหาข้อมูลตามคำที่เราพิมพ์เข้าไปมากกว่าที่จะค้นหาจากความหมายของคำ นอกจากนี้การที่ Yahoo เก็บข้อมูลในลักษณะของเมนู ทำให้การค้นหาโดยการเจาะเข้าไปตามหัวข้อค่อนข้างยากกว่าจะพบสิ่งที่ต้องการ

31. Excite
ใช้เทคนิคการค้นหาข้อมูลที่เรียกว่า “Concept base” คือ พยายามตีความหมายของข้อมูลที่เราต้องการค้นหากับข้อมูลของแต่ละไซต์ ในคลังข้อมูล

32. E-mail : จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
e-mail (Electronics mail) คือ จดหมายหรือข้อความที่ส่งถึงกันผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การำส่งจดหมายอิเล็คทรอนิกส์เปลี่ยนรูปแบบมาจากการใช้บุรุษไปรษณีย์มาใช้โปรแกรม และเปลี่ยนจากการจราจรปกติมาเป็นสายสื่อสารที่เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายแทน
จดหมายอีเล็กทรอนิกส์ จำเป็นที่ต้องมีการจ่าหน้าถึงผู้รับเช่นเดียวกับจดหมายธรรมดาทั่วไป แต่มีรูปแบบเปลี่ยนไปตามข้อกำหนด

33. โครงสร้างทั่วไปของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
To :
From :
Subject :
Cc :
Bcc :
Attached :

ส่วนบนสุดหรือ “ To : ” เป็นส่วนที่คุณต้องใส่ที่อยู่ของคนที่เราจะส่งจดหมายไปให้ลงไป
ส่วนที่เป็น “ From ” จะเป็นส่วนที่บอกว่าใครเป็นผู้ส่ง ส่วนใหญ่โปรแกรมจะใส่ให้เอง
ส่วนที่เป็น “ Subject ” ไว้ใส่ชื่อหัวข้อจดหมายที่จะส่งไป
ส่วนที่เป็น “ Cc ” การทำสำเนาของจดหมายฉบับนี้ว่าจะส่งถึงใคบ้าง
ส่วนที่เป็น “ Bcc ” เหมือนกับ Cc แต่ต่างกันที่ว่าคนที่รับ Bcc จะไม่รู้ว่าคุณส่งเมล์ถึงใครบ้าง เช่น ถ้าคุณต้องการส่งเมล์ให้ หนึ่งกับสอง ก็สามารถใส่เมล์ของทั้งสองคนไว้ที่ To หรือ Cco ก็ได้โดยใช้เครื่องหมาย “ , ” ขั้นเมล์ของแต่ละคน แต่ถ้าคุณไม่ต้องการให้หนึ่งเห็นว่าคุณส่งให้สองด้วย ให้คุณใส่เมล์ของคุณลงไปใน To แล้วใส่เมล์ของสองลงใน Bcc เมื่องหนึ่งได้รับจดหมายแล้วก็จะไม่รู้ว่า คุณส่งจดหมายให้สอบด้วย ทั้ง ๆ ที่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นพร้อมกัน
ส่วนที่เป็น “ Attached ” คือการส่งข้อมูลที่เป็นไฟล์ ซึ่งการส่งไฟล์ครั้งหนึ่งไม่ควรเกิน 1 เมกะไบต์ ในแต่ละครั้ง ที่มีการส่งจดหมาย เพราะจะทำให้จดหมายนั้นส่งถึงช้าเนื่องจากไฟล์มีขนาดไหญ่
การขออีเมล์นั้นสามารถข้อได้จากศูนย์ให้บริการอินเตอร์เน็ตที่คุณเป็นสมาชิกอยู่หรือข้อได้จากบริการฟรีเมล์ต่าง ๆ เช่น Hotmail.com , Thaimail.com เป็นต้น
การขอใช้ฟรีเมล์ต่าง ๆ จะมีต้องมีการลงทะเบียน ซึ่งขั้นตอนในการลงทะเบียนอาจจะแตกต่างกันไปบ้างแล้วแต่ผู้ใช้บริการ

34. การรับส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์

เมื่อเราต้องการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งกับคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ปัญหาคือว่าข้อมูลคอมพิวเตอร์คืออะไร มีรูปร่างหน้าตาอย่างไร คอมพิวเตอร์ทุกวันนี้มีการทำงานโดยเก็บข้อมูลอยู่ในรูปของสัญญาไฟฟ้า แล้วนำสัญญาณไฟฟ้านั้นมาทำการประมวลผลในรูปแบบต่าง เช่นการเก็บตัวอักษรรวมกันในรูปของจดหมาย หรือเอกสาร หรือทำการคำนวณตัวเลข ฯลฯ ดังนั้นข้อมูลของคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลอะไร เช่น ข้อมูลตัวอักษร, ข้อมูลที่เป็นรูปภาพและตัวเลข จะถูกเก็บอยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้าทั้งสิ้น โดยลักษณะของสัญญาณไฟฟ้าที่เก็บจะมีอยู่สองสภาวะ คือสภาวะ “0” และ “1” เราเรียกสภาวะข้อมูลนี้ว่า หนึ่งบิต (Bit) ข้อมูลหนึ่งบิตที่มีสภาวะ “0” หรือ “1” นี้อาจอยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้าที่มีแรงดันต่าง ๆ กัน เช่น โวลต์ หรือ –12 โวลต์ กับ + 12 โวลต์ก็ได้ ขอให้มีความแตกต่างกันจนคอมพิวเตอร์แยกออกได้ว่าสัญญาณนี้คือ สภาวะ “0” หรือ “1” ก็พอ

35. ลักษณะของข้อมูลคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันจะใช้สัญญาณไฟฟ้าในการทำงาน โดยส่วนมากใช้แรงดันไฟฟ้า “ต่ำ” เช่น 0 โวลต์ แทนสภาวะ “0” ของข้อมูล และใช้แรงดันไฟฟ้า “สูง” เช่น +5 โวลต์ แทนสภาวะ “1” ของข้อมูล ส่วนการเก็บข้อมูลลงในแผ่นฟล็อปปีดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ คอมพิวเตอร์จะใช้เส้นแรงแม่เหล็กแทนข้อมูล “0” และ “1” โดยใช้สัญญาณไฟฟ้าควบคุมอีกทีหนึ่ง
เมื่อเรานำข้อมูลหนึ่งบิตมาเรียงต่อเข้าด้วยกันเป็นหลาย ๆ บิต ก็จะกลายเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ขึ้นมาทันที ตามมาตรฐานนั้นข้อมูล 8 บิตเรียงต่อกันเราเรียกว่า หนึ่งไบต์ (Byte) ซึ่งคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไปจะใช้ข้อมูลหนึ่งไบต์นี้เก็บตัวอักษรได้หนึ่งตัว โดยมีการกำหนดรหัสเอาไว้ว่าตัวอักษร A B C หรือ ก ข ค จะมีค่า “0” และ “1” เรียงกันอย่างไรใน 8 บิตนี้ รหัสมาตรฐานดังกล่าวเรียกว่ารหัส ASCII คอมพิวเตอร์ที่ใช้รหัส ASCII เหมือนกันจะสามารถรับส่งข้อมูลกันได้เหมือนคนที่พูดภาษาเดียวกันนั่นเอง คำว่า ASCII นี้อ่านออกเสียงว่า “แอสกี้” เป็นตัวย่อมาจากคำเต็มภาษาอังกฤษว่า American Standard Code for Information Interchange ส่วนรหัสข้อมูลคอมพิวเตอร์อีกแบบหนึ่งซึ่งมันใช้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่แบบเมนเฟรม จะกำหนดระหัสของตัวอักษร A B C และ ก ข ค แตกต่างการหัส ASCII เราเรียกรหัสอีกแบบนี้ว่ารหัส EBCDIC อ่านว่า “เอ็บซิดิก” มาตรฐานของคอมพิวเตอร์ปกติจะใช้ระหัสแบบ ASCII หือไม่ก็แบบ EBCDIC นี้ พวกคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระหัสต่างไปจากสองแบบนี้มีน้อยมาก และที่สำคัญก็คือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เรามองเห็นกันทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นพีซี แมคอินทอช เวิร์กสเตชั่น มักใช้รหัสแบบ ASCII ทั้งนั้น

ไม่ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีโครงสร้างแบบ 8 บิต 16 บิต หรือ 32 บิตก็ตาม ก็จะเก็บข้อมูลโดยใช้ 8 บิต หรือหนึ่งไบต์แทนตัวอักษรหนึ่งตัวเสมอ เมื่อคอมพิวเตอร์รับส่งข้อมูลก็คือการรับส่งสัญญาณไฟฟ้าทีละหนึ่งตัวอักษรติดต่อกัน จนกลายเป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์นำไปใช้งานต่าง ๆ ได้นั่นเอง ข้อสังเกตในการรับส่งข้อมูลคือ เราต้องใช้รหัส ASCII เหมือนกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รับส่งข้อมูลทั้งสองฝ่าย หรือถ้าใช้รหัส EBCDIC ก็ต้องเป็นรหัส EBCDIC เราจะต้องมีซอฟต์แวร์ช่วยเปลี่ยนรหัส เปรียบเหมือนมีล่ามคอยแปลภาษาให้อีกทีหนึ่ง ไม่อย่างนั้นคอมพิวเตอร์ที่รับข้อมูลจะนำไปใช้งานไม่ได้ เพราะว่ารหัสไม่ตรงกัน ซึ่งปัญหานี้มักจะเกิดขึ้นในกรณีที่เราต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เช่น พีซี เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่หรือเมนเฟรมเท่านั้น ส่วนการรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่เมนเฟรมจะใช้รหัส ASCII เหมือนกันหมดจึงไม่มีปัญหา